“ไคเซกิ” สุดยอดแห่งประสบการณ์กินดื่มอาหารญี่ปุ่น

17 ธ.ค. 2019

จากจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ผุดขึ้นอย่างมากมายในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งร้านซูชิ เนื้อสเต็กวากิว เท็มปุระ ข้าวหน้าเนื้อทอดทงคัตสึ ทำให้สงสัยว่ามีใครบ้างที่จะไม่ชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่น แต่ถ้าหากคุณเป็นคนชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นตัวยงแล้ว ต้องอย่าพลาดที่จะลอง “อาหารไคเซกิ” ที่ไม่เพียงแต่รสชาติอร่อยอย่างเดียว แต่ยังหน้าตาสวยงามน่าชมมากกว่าน่ารับประทาน ซึ่งต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งการรับรส พินิจรูปลักษณ์และรับกลิ่นไปพร้อมๆกันเลย

อาหารไคเซกิช่วงฤดูใบไม้ผลิของโรงแรมโชโฮ (Shoho)

เสน่ห์และความตื่นเต้นอย่างหนึ่งของการพักโรงแรมแบบเรียวกังนั้นก็คืออาหารมื้อเย็น ที่มักจะเสิร์ฟเป็นอาหารไคเซกิ ซึ่งในอาหารไคเซกิจะประกอบไปด้วยอาหารจำนวนหลากหลายชนิดที่จะค่อยๆเสิร์ฟออกมาทีละจานๆในปริมาณที่ไม่มาก คล้ายๆกับอาหารฝรั่งเศสที่ค่อยๆเสิร์ฟออกมาทีละคอร์สนั่นเอง หลายคนอาจะไม่ทราบว่าอาหารไคเซกินับเป็นอาหารญี่ปุ่น (washoku)ในรูปแบบที่มีความประณีตในการปรุงอย่างสูงสุด และได้รับขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ว่าใครก็ตามที่มาญี่ปุ่นควรจะมาลองรับประทานอาหารให้ได้สักมื้อ!

หากต้องการรับประทานอาหารไคเซกิให้เข้าถึงบรรยากาศมากที่สุด อย่าลืมที่จะเปลี่ยนเป็นชุดยูกาตะที่เตรียมไว้ในห้องพักก่อนลงมาที่ห้องอาหาร และอาจจะสั่งสาเกสักแก้วมารอไว้เพื่อดื่มระหว่างรับประทานอาหาร เมื่ออาหารจานแรกมาเสิร์ฟก็หยิบตะเกียบขึ้นมาประกบด้วยมือทั้ง 2 ข้างแล้วพูด “อิตะดาคิมัส~” ซึ่งจะแปลตรงตัวเป็นภาษาไทยได้ว่า “จะขอรับประทาน(อาหารนี้)แล้วนะคะ”

ลองสั่งสาเกพื้นเมืองมาดื่มระหว่างมื้ออาหารสักแก้วมั๊ยคะ?

จำนวนคอร์สในอาหารไคเซกินั้นอาจจะแตกต่างไปบ้างตามแต่เรียวกัง แต่ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยอาหารเรียกน้ำย่อย ซาชิมิ ของต้ม ของย่าง ของทอด ข้าวและตบท้ายด้วยของหวานเสมอ ส่วนอาหารไคเซกิที่เสิร์ฟที่โรงแรมโชโฮมักจะประกอบด้วยคอร์สตามลำดับดังนี้ค่ะ

食前酒 (shokuzenshu) – เครื่องดื่มเรียกน้ำย่อย
เครื่องดื่มเรียกน้ำย่อย (ไม่มีแอลกอฮอล์) ก่อนเริ่มมื้ออาหาร

前菜 (zensai) – อาหารเรียกน้ำย่อย
อาหารเรียกน้ำย่อยหลากหลายชนิดที่เสิร์ฟรวมมาในปริมาณเล็กน้อยขนาดพอดีคำ

หลักจากที่ดื่มเครื่องดื่มเรียกน้ำย่อยแล้วจะทำให้กระตุ้นความอยากอาหารขึ้นมา แต่การดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ท้องว่างคงจะเป็นไอเดียที่ไม่ดีนัก จึงมีการเสิร์ฟอาหารเรียกน้ำย่อยรองท้องก่อน และตามมาด้วยอาหารจานหลักทั้งหลายจะถูกทยอยเสิร์ฟตามมาอย่างไม่ขาดสาย

ถ้าพูดถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ต้องนึกถึงเห็ดนานาชนิด
“ซาชิมิ” อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นไคเซกิของเรียวกังไหนก็ต้องมีเสิร์ฟเสมอ

御造り (otsukuri) – ปลาดิบซาชิมิ
ปลาดิบหลากหลายชนิดตามฤดูกาลที่แล่และจัดเรียงไว้อย่างสวยงาม

御凌ぎ (oshinogi) – คอร์สอาหารคั่นกลาง
คอร์สอาหารรสชาติไม่หนักที่เสิร์ฟคั่นกลางก่อนขึ้นก่อนคอร์สถัดไป เช่นข้าวปั้นซูชิ

一人鍋 (hitorinabe) – อาหารประเภทหม้อร้อนสำหรับ 1 ท่าน
หม้อร้อนซึ่งมีวัตถุดิบสำคัญตามแต่ฤดูกาล เช่น ปูหิมะ

蒸し物 (chawanmushi) – อาหารประเภทนึ่ง
มักจะเสิร์ฟเป็นไข่ตุ๋นเนื้อเนียนเด้งละมุมลิ้นสูตรพิเศษของเรียวกัง

焼き物 (yakimono) – อาหารประเภทย่าง
เมนูหลักดาวเด่นคือ “ชินชูกิว” เนื้อวัววากิวจากจังหวัดนากาโนะ (ชินชูเป็นชื่อเก่าของจังหวัดนากาโนะ)

揚物 (agemono) – อาหารประเภททอด
รวมเท็มปุระผักหลากหลายชนิดหรืออาหารทะเล

จากการเรียงลำดับการเสิร์ฟซึ่งผ่านการคิดมาอย่างดีแล้ว โดยเริ่มจากจานที่มีรสชาติละมุน ก่อนจะตามมาด้วยจานอาหารที่มีรสชาติหนักแน่นเต็มไปด้วยรสชาติ ทำให้สามารถค่อยๆดื่มด่ำและพิจารณาไปกับรสชาติและเนื้อสัมผัสที่แตกต่างของแต่ละจานได้อย่างเต็มที่

ไม่เพียงแต่รสชาติเท่านั้น การจัดจานก็เป็นอีกหนึ่งหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปรุงอาหารไคเซกิ เพื่อให้เรียกได้ว่าเป็นไฟน์ไดนิ่งอย่างแท้จริง

食事(ご飯・汁物・御新香)(shokuji) – ข้าว ซุปและของดอง
แน่นอนว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนเอเชียรวมถึงชาวญี่ปุ่นด้วย ข้าวจะถูกเสิร์ฟพร้อมกับซุปและผักดองเพื่อให้รับประทานคู่กัน

デザート (deza-to) – ของหวาน
ตบท้ายของหวานล้างปาก อาจจะเป็นผลไม้ตามฤดูกาล เค้กหรือไอศกรีม เป็นการปิดมื้ออาหารอย่างสมบูรณ์

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานข้าวไปพร้อมๆกับกับข้าว จึงอาจจะไม่ค่อยเคยชินเท่าไหร่กับการเสิร์ฟข้าวออกมาเป็นลำดับหลังๆ อย่างไรก็ตามกล่าวกันว่าการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเป็นลำดับสุดท้ายนั่นดีต่อสุขภาพมากกว่า เพราะจะช่วยไม่ให้ลำดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินไป แต่หากใครที่อยากจะรับประทานข้าวไปพร้อมๆกันก็สามารถขอให้เสิร์ฟข้าวก่อนก็ได้ไม่ว่ากัน

สีสันและวัตถุดิบของแต่ละจานสื่อถึงฤดูกาล อย่างเช่นในรูปข้างบนคืออาหารไคเซกิของฤดูใบไม้ผลิ

หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็เป็นธรรมเนียมของคนญี่ปุ่นที่จะต้องพูดว่า “โกะจิโซซามะเดชิตะ” ซึ่งแปลความหมายง่ายๆได้ว่า “ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ครับ/ค่ะ”

ใครที่มาพักที่โรงแรมโชโฮเมื่อจองกับเว็บไซต์จองโรงแรมใดๆก็ตาม อาหารเช้าและอาหารเย็นไคเซกิจะรวมอยู่ในราคาห้องพักแล้ว โดยอาหารทั้ง 2 มื้อจะรับประทานกันที่ห้องอาหาร “ชินชู” (Shinshu) ซึ่งเพิ่งปรับปรุงใหม่เมื่อปี 2017 สามารถมองเห็นเชฟในขณะที่กำลังปรุงอาหารจากครัวเปิด และสำหรับใครที่อยากรับประทานอาหารไคเซกิในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ที่โรงแรมกังโชโฮก็มีห้องอาหารส่วนตัวจัดเตรียมไว้ สามารถติดต่อโรงแรมเพื่อจองห้องล่วงหน้าได้

หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็เป็นธรรมเนียมของคนญี่ปุ่นที่จะต้องพูดว่า “โกะจิโซซามะเดชิตะ” ซึ่งแปลความหมายง่ายๆได้ว่า “ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ครับ/ค่ะ”

ใครที่มาพักที่โรงแรมโชโฮเมื่อจองกับเว็บไซต์จองโรงแรมใดๆก็ตาม อาหารเช้าและอาหารเย็นไคเซกิจะรวมอยู่ในราคาห้องพักแล้ว โดยอาหารทั้ง 2 มื้อจะรับประทานกันที่ห้องอาหาร “ชินชู” (Shinshu)  สามารถมองเห็นเชฟในขณะที่กำลังปรุงอาหารจากครัวเปิด และสำหรับใครที่อยากรับประทานอาหารไคเซกิในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ที่โรงแรมกังโชโฮก็มีห้องอาหารส่วนตัวจัดเตรียมไว้ สามารถติดต่อโรงแรมเพื่อจองห้องล่วงหน้าได้

ดูข้อมูลโรงแรมโชโฮเพิ่มเติม >

ครัวเปิดของห้องอาหาร “ชินชู” (Shinshu)
หนึ่งในห้องรับประทานอาหารส่วนตัวของโรงแรมโชโฮ

หลังจากเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารทั้งหมดแล้ว แนะนำให้พักรออาหารย่อยก่อนเล็กน้อย ก่อนจะไปสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นอีกอย่างที่พลาดไม่ได้เมื่อมาเยือนประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็คือ “การแช่ออนเซ็น” และที่โรมแรมโชโฮเองก็มีออนเซ็นธรรมชาติวิวสวยด้วย 

อ่านเพิ่มเติม: “โรงแรมโชโฮ” เรียวกังแนะนำพร้อมออนเซ็นในตัวที่เมืองมัตสึโมโต้ (พร้อมวิวสวยมองเห็นเจแปนแอลป์!)

การเดินทางไปโรงแเรมโชโฮ

สามารถนั่งรถชัตเทิลบัสรับ-ส่งของโรงแรมจากสถานีมัตสึโมโต้ไปยังโรงแรมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
🚌เวลารถออกจากสถานี:  16:00 และ 17:00 น.
🚌เวลารถออกจากโรงแรม: 9:00 และ 10:00 น.

※ไม่จำเป็นต้องจองที่นั่งล่วงหน้า
※สามารถฝากกระเป๋าไว้ที่โรงแรม Ace Inn Matsumoto (เครือเดียวกับโรงแรมโชโฮ) จนกว่าจะถึงเวลารถบัสออกได้

สนุกสุดเหวี่ยงกับการเล่นหิมะที่ฮาคุบะ (ver. คนไม่เล่นสกีและเด็ก)
สกีรีสอร์ทฮาคุบะ – ดินแดนแห่งความสนุกในฤดูหนาว

บทความที่คุณอาจสนใจ

ปีนยอดเขาที่สูงที่สุดของภูเขาโนะริคุระ (3,026 ม.) ภายในแค่ 3 ชั่วโมง!

สถานที่ชมซากุระที่ต้องไปให้ได้ในจังหวัดนากาโนะ 9 แห่ง (พร้อมวิธีการเดินทางและพยากรณ์ช่วงบานเต็มที่ปี 2023)